ช่วงแรกเกิด - อายุ 3 อาทิตย์ (First Critical Period)ใน ช่วงนี้ลูกสุนัขต้องพึ่งพาอาศัยแม่ตลอดเวลาเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความอบอุ่นก็ต้องซุกไซ้ที่ตัวแม่ เรื่องอาหารก็ต้องกินนมจากแม่ เรื่องความสะอาดก็ด้วยหลังจากกินนมแม่แล้ว ก็ต้องขับถ่ายเป็นะรรมดา หลังจากนั้นแม่ก็จะเลียทำความสะอาดตัวให้ลูกค่ะ
ช่วง 3 อาทิตย์ - 8 อาทิตย์ (Second Critical Period) ช่วงนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเยอะ ประสาทสัมผัสเริ่มทำงาน การได้กลิ่น การได้ยิน การมองเห็นและเริ่มเดินเริ่มคลานได้แล้ว ในช่วงนี้สภาพแวดล้อมที่ลูกสุนัขอยู่มีส่วนสำคัญมากๆกับทางด้านการปรับตัว ของพวกเค้า การที่ลูกสุนัขในคอกเดียวกันเล่นกันเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเรียนรู้ เพราะเค้าจะเริ่มเรียนรู้ในการมีชีวิตแบบสัตว์สังคมโดยที่ตัวที่แข็งแกร่ง ที่สุดจะเป็นจ่าฝูง แต่ยังไงก็ตามลูกสุนัขก็ยังควรต้องอยู่กับแม่จนถึงอายุ 8 อาทิตย์ และโดยธรรมชาติแม่สุนัขก็จะสอนให้ลูกรู้จักการเข้าสังคมกับสุนัขด้วยกัน หากเราแยกลูกสุนัขตั้งแต่เค้ายังอายุไม่เกิน 6 อาทิตย์อาจทำให้มีผลทางเสียต่ออารมณ์และนิสัยของเค้าได้และสิ่งเหล่านี้ไม่ สามารถหาอะไรมาทดแทนได้ในภายหลังค่ะ หลังจากลูกสุนัขอายุ 4 อาทิตย์ขึ้นไปคนถึงควรมีส่วนร่วมในการดูแลควบคู่กับแม่สุนัขจนถึงอายุ 8 อาทิตย์ที่เป็นเวลาที่เหมาะสมที่เราจะแยกลูกสุนัขออกจากแม่มันได้ค่ะ
ยังคงเหลืออีก 2 ช่วงที่ยังไม่ได้พูดถึงเราจะมาต่อกันในฉบับหน้านะคะ ที่ Pet Paradise Park เรามีหลักสูตรการฝึกลูกสุนัขเบื้อง ต้นด้วยตัวคุณเอง เรียนเป็นกลุ่มค่ะเป็นการฝึกให้เค้าหัดเข้าสังคมตั้งแต่เล็กนะคะ ใช้เวลาในการเรียนแค่ 4 สัปดาห์เท่านั้นค่ะ แล้วคุณจะรู้ว่าการฝึกลูกสุนัขในเรื่องพื้นฐานนั้นมันง่ายกว่าที่คุณคิดเยอะ ค่ะ ท่านใดสนใจโทรสมัคร-สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ช่วง 8 อาทิตย์ - 12 อาทิตย์ (Third Critical Period) ลูก สุนัขอายุ 8 อาทิตย์เหมาะสมที่สุดและพร้อมที่จะแยกออกจากแม่และพี่น้องในคอกค่ะ และพร้อมที่จะไปอยู่บ้านใหม่ค่ะ ลูกสุนัขในช่วงนี้จะเริ่มมีพฤติกรรมสร้างความรำคาญให้กับแม่เค้า อย่างเช่น ฟันขึ้นแล้วแต่ยังอยากดูดนมแม่ แม่ก็ต้องเจ็บสิค่ะก็เลยจะเริ่มขู่ๆไม่อยากให้ลูกกินนมแล้ว นอกจากนั้นพวกมันก็รู้จักการมีชิวิตและการเรียนรู้แบบหมาๆอย่างเพียงพอแล้ว จากแม่ และก็มีความคุ้นเคยกับคนมากพอที่จะรู้จักปรับตัวกับเจ้าของใหม่แล้วค่ะ
ใน ช่วงนี้การฝึกลูกสุนัขสำคัญมากเนื่องจากเราจะช่วยสร้างและพัฒนานิสัยที่ดี ให้เค้าๆได้แต่เราจะไม่ฝึกเค้าแบบสุนัขโตนะคะ เราควรจะฝึกเค้าจากพฤติกรรมตามธรรมชาติของเค้าหรือตามสัญชาตญาณของเค้าค่ะ
การ ฝึกให้เข้าสังคมกับคนก็ควรทำอย่างต่อเนื่องเพื่อฝึกให้เค้ายอมรับว่าเค้า ต้องมีชิวิตอยู่รวมกันกับมนุษย์ค่ะ เราอาจจะพาเค้าออกไปเดินเล่นซัก 5-10 นาทีทุกวันเพื่อให้เค้าคุ้นเคยกับคนมากขึ้นเรื่อยๆก็ได้ หรือจะพาเค้าไปในที่แปลกๆเพื่อฝึกให้เค้ารู้จักปรับตัวและไม่ขี้ขลาดขี้กลัว ด้วยก็ได้ เช่น ลองพาเดินริมถนนที่มีรถผ่านเยอะๆ, สถานีรถไฟ, ป้ายรถเมล์ หรือที่ๆมีเสียงแปลกๆดังค่ะ
ช่วง 12 อาทิตย์ - 16 อาทิตย์ (Fourth Critical Period)
ถือ ได้ว่าเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดเลยนะคะ เพราะว่าอาจจะเป็นโอกาสสุดท้ายแล้วที่เราจะฝึกเค้าให้หัดเข้าสังคมกับคนและ สุนัขจากบ้านอื่นรวมถึงการปรับตัวให้กับสิ่งแวดล้อมค่ะ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลอันสูงสุดในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพราะถ้าหากลูกสุนัขไม่ได้รับการฝึกสิ่งต่างๆอย่างเพียงพอในช่วงนี้ก็อาจจะ ไม่สามารถทำให้เค้าโตขึ้นมาเป็นสุนัขนิสัยดีที่ใครๆก็อยากมีได้ อาจจะทำให้เค้าเป็นสุนัขที่ขี้ระแวง ขี้กลัว ขี้ตกใจ ตื่นเต้นง่าย เข้ากับคนหรือสุนัขจากบ้านอื่นไม่ได้ค่ะ การฝึกในสิ่งที่กล่าวมานั้นควรจะฝึกไปเรื่อยๆตั้งแต่ลูกสุนัขอายุ 16 อาทิตย์จนถึง 12 เดือนเลยค่ะ
วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วิธีเลี้ยงลูกหมาแรกคลอดให้ปลอดภัย ตอนแรก
ปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตของลูกหมาแรกคลอดนั้นมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น
- สารอาหารและการหย่านม
- การจัดการเรื่องการขับถ่าย
- อุณหภูมิและความชื้น
- การป้องกันโรคติดต่อ
- การเข้าสังคม
แต่วันนี้จะขอเน้นถึงเรื่องที่สำคัญที่สุดคือการเลี้ยงดูลูกหมาแรกคลอด ให้ปลอดภัย นั้นคือ การป้อนนมลูกหมาแรกคลอดให้ปลอดภัย ซึ่งมีด้วยกัน 10 ขั้นตอนนั้นนี้ค่ะ
ขั้นตอนที่ 1 ใช้ขวดนมสำหรับลูกหมา “เริ่มดีมีชัยไปกว่าครึ่ง”
นั้นหมายถึง เริ่มต้นเลี้ยงลูกหมาแรกคลอดให้ดี ก็หมายถึงโอกาสรอดของลูกหมาก็มีมากกว่า 50 เปอเซนต์ ซึ่งการเริ่มต้นที่ดีในการป้อนนมก็ต้องเริ่มจากกการเลือกขวดนมที่เหมาะสม นั้นคือ เราควรเลือกใช้ขวดนมสำหรับลูกหมา ซึ่งจุกนมจะเล็กไม่ใหญ่เกินไปเหมือนจุกนมเด็กทารก
ขั้นตอนที่ 2 ใช้นมคุณภาพสูง
เราควรเลือกนมสำหรับลูกหมามาใช้ป้อนให้ลูกหมาโดยเฉพาะ ไม่ควรให้นมผงเด็ก หรือนมกล่อง หรือนมข้นหวาน มาใช้ชงเลี้ยงลูกหมา เพราะนมโค หรือนมเด็ก นั้นไม่เหมาะสำหรับเลี้ยงลูกหมา เพราะมักจะทำให้ลูกหมาท้องเสียได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ ช่วง 72 ชั่วโมงแรก จำเป็นต้องใช้นมลูกหมาคุณภาพสูง ซึ่งดูเหมือนจะราคาแพงหน่อย แต่คุณภาพก็ดีตามราคาค่ะ
ขั้นตอนที่ 3 ชั่ง-ตวง-วัด ปริมาณน้ำนมที่ใช้ในแต่ละวัน
ในการให้นมลูกหมานั้นเราจำเป็นต้องกำหนดปริมาณน้ำนมสำหรับลูกสัตว์ในแต่ละวัน เพื่อจะได้ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป โดยมีสูตรดังนี้
อายุลูกหมา ปริมาณนมที่ให้กินในแต่ละวัน
1 อาทิตย์ 13 ซีซี
2 อาทิตย์ 17 ซีซี
3 อาทิตย์ 20 ซีซี/น้ำหนักตัว 100 กรัม
4 อาทิตย์ 22 ซีซี/น้ำหนักตัว 100 กรัม
การตวงนมนั้นอาจใช้ไซริงค์ หรือกระบอกฉีดยาดูดเอาก็ได้ ส่วนน้ำหนักตัวของลูกหมานั้น ก็ใช้ตาชั่งเล็กๆ ที่ใช้ชั่งอาหารทำครัว ซึ่งราคาประมาณ 300-400 บาทหาซื้อได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตได้ค่ะ
- สารอาหารและการหย่านม
- การจัดการเรื่องการขับถ่าย
- อุณหภูมิและความชื้น
- การป้องกันโรคติดต่อ
- การเข้าสังคม
แต่วันนี้จะขอเน้นถึงเรื่องที่สำคัญที่สุดคือการเลี้ยงดูลูกหมาแรกคลอด ให้ปลอดภัย นั้นคือ การป้อนนมลูกหมาแรกคลอดให้ปลอดภัย ซึ่งมีด้วยกัน 10 ขั้นตอนนั้นนี้ค่ะ
ขั้นตอนที่ 1 ใช้ขวดนมสำหรับลูกหมา “เริ่มดีมีชัยไปกว่าครึ่ง”
นั้นหมายถึง เริ่มต้นเลี้ยงลูกหมาแรกคลอดให้ดี ก็หมายถึงโอกาสรอดของลูกหมาก็มีมากกว่า 50 เปอเซนต์ ซึ่งการเริ่มต้นที่ดีในการป้อนนมก็ต้องเริ่มจากกการเลือกขวดนมที่เหมาะสม นั้นคือ เราควรเลือกใช้ขวดนมสำหรับลูกหมา ซึ่งจุกนมจะเล็กไม่ใหญ่เกินไปเหมือนจุกนมเด็กทารก
ขั้นตอนที่ 2 ใช้นมคุณภาพสูง
เราควรเลือกนมสำหรับลูกหมามาใช้ป้อนให้ลูกหมาโดยเฉพาะ ไม่ควรให้นมผงเด็ก หรือนมกล่อง หรือนมข้นหวาน มาใช้ชงเลี้ยงลูกหมา เพราะนมโค หรือนมเด็ก นั้นไม่เหมาะสำหรับเลี้ยงลูกหมา เพราะมักจะทำให้ลูกหมาท้องเสียได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ ช่วง 72 ชั่วโมงแรก จำเป็นต้องใช้นมลูกหมาคุณภาพสูง ซึ่งดูเหมือนจะราคาแพงหน่อย แต่คุณภาพก็ดีตามราคาค่ะ
ขั้นตอนที่ 3 ชั่ง-ตวง-วัด ปริมาณน้ำนมที่ใช้ในแต่ละวัน
ในการให้นมลูกหมานั้นเราจำเป็นต้องกำหนดปริมาณน้ำนมสำหรับลูกสัตว์ในแต่ละวัน เพื่อจะได้ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป โดยมีสูตรดังนี้
อายุลูกหมา ปริมาณนมที่ให้กินในแต่ละวัน
1 อาทิตย์ 13 ซีซี
2 อาทิตย์ 17 ซีซี
3 อาทิตย์ 20 ซีซี/น้ำหนักตัว 100 กรัม
4 อาทิตย์ 22 ซีซี/น้ำหนักตัว 100 กรัม
การตวงนมนั้นอาจใช้ไซริงค์ หรือกระบอกฉีดยาดูดเอาก็ได้ ส่วนน้ำหนักตัวของลูกหมานั้น ก็ใช้ตาชั่งเล็กๆ ที่ใช้ชั่งอาหารทำครัว ซึ่งราคาประมาณ 300-400 บาทหาซื้อได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตได้ค่ะ
วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ปอมเมอเรเนียน
ลักษณะทั่วไป : ปอมฯ เป็นสุนัขขนาดเล็ก ลำตัวสั้นกระทัดรัด น้ำหนักประมาณ 4-6 ปอนด์ มีการแสดงออกถึงความเฉลียวฉลาด ร่าเริงและตื่นตัวอยู่เสมอ ซื่อสัตย์ รักเจ้าของ ขี้ประจบ แต่เป็นสุนัขค่อนข้างตกใจง่าย เห่ามาก ยิ่งตัวเล็กยิ่งเห่าเก่ง
สัดส่วน : น้ำหนักของปอมฯ โดยเฉลี่ยแล้วจะหนักประมาณ 3-7 ปอนด์ (ประมาณ 1.25-3 กก.) แต่ขนาดที่ดีสำหรับการประกวดนั้นควรหนักประมาณ 4-6 ปอนด์ (1.7-2.5 กก.) ถ้าสุนัขหนักมากกว่าหรือน้อยกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ถือว่าผิดมาตรฐาน รูปร่างของสุนัขมีความสำคัญกว่าขนาดของสุนัข ช่วงตั้งแต่หน้าอกจนถึงสะโพกจะสั้นกว่าหรือเท่ากับส่วนสูงตั้งแต่ช่วงไหล่จนถึงพื้น กระดูกมีขนาดปานกลาง
นิสัยและอารมณ์ : สุนัขปอมฯ เป็นสุนัขที่เปิดเผย แสดงออกถึงความเฉลียวฉลาด การเคลื่อนไหว : การเดินหรือการเคลื่อนไหวต้องเป็นไปอย่างอิสระราบเรียบ นุ่มนวล แลดูแข็งแรง เวลาเดินขาหน้าต้องเหยียดตรงไม่งอพับขึ้น ข้อศอกไม่กางออก ส่วนขาหลังต้องไม่ถ่างออก ขาหลังจะเคลื่อนไปข้างหน้าในจังหวะเดียวกันกับขาหน้าที่เคลื่อนที่ไป

ขน : สุนัขปอมฯ มีขน 2 ชั้น คือ ขนชั้นใน (UNDERCOAT) ต้องนุ่มและแน่น ขนชั้นนอก(OUTTERCOAT) ต้องยาวตรงเป็นประกายและหยาบ ขนชั้นในที่หนาแน่นจะช่วยพยุงขนชั้นนอกให้ฟูไม่ลู่ เหยียดตรง ขนจะต้องหนาแน่นตั้งแต่ช่วงคอ หน้าอก ช่วงไหล่ด้านหน้า ขนช่วงหัวและขาจะแน่นแต่สั้นกว่าขนช่วงลำตัว ขนหางยาว หยาบและเหยียดตรง การตัดแต่งเล็มขนให้ดูสวยงามและดูเรียบร้อยไม่ถือเป็นข้อผิด
สี : สีที่ได้รับการยอมรับและรับรอง ควรได้รับการพิจารณาการตัดสินอย่างเท่าเทียมกัน สีที่ได้รับการยอมรับได้แก่
1. สีใดๆ ก็ได้ที่ขึ้นเป็นสีเดียวกันทั้งตัว หรืออาจจะมีสีที่อ่อนหรือแก่กว่าแซมอยู่ด้วย (SELT-COLOR)
2. สีแซมกัน 2 สี (PARTI-COLOR) หมายถึงปอมฯ ที่มีสีขาวและมีสีอื่นแซมเป็นพื้นๆ กระจายเท่าๆ กันทั่วตัว และควรมีแถบสีขาวบนหัวด้วย
3. สีดำและน้ำตาล (BLACK AND TAN) หมายถึงปอมฯ มีสีดำที่มีสีน้ำตาลอยู่เหนือตาทั้ง 2 ข้างและปาก ลำคอ หน้าอก ใต้หาง ขาและเท้าทั้ง 4 ข้าง สีน้ำตาลนี้ยิ่งเข้มยิ่งดี
4. BRINDLE ได้แก่ปอมฯ ที่มีพื้น คือ สีทอง แดงหรือส้ม และมีสีดำแซมอยู่ทั่วทั้งตัว
สัดส่วน : น้ำหนักของปอมฯ โดยเฉลี่ยแล้วจะหนักประมาณ 3-7 ปอนด์ (ประมาณ 1.25-3 กก.) แต่ขนาดที่ดีสำหรับการประกวดนั้นควรหนักประมาณ 4-6 ปอนด์ (1.7-2.5 กก.) ถ้าสุนัขหนักมากกว่าหรือน้อยกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ถือว่าผิดมาตรฐาน รูปร่างของสุนัขมีความสำคัญกว่าขนาดของสุนัข ช่วงตั้งแต่หน้าอกจนถึงสะโพกจะสั้นกว่าหรือเท่ากับส่วนสูงตั้งแต่ช่วงไหล่จนถึงพื้น กระดูกมีขนาดปานกลาง
นิสัยและอารมณ์ : สุนัขปอมฯ เป็นสุนัขที่เปิดเผย แสดงออกถึงความเฉลียวฉลาด การเคลื่อนไหว : การเดินหรือการเคลื่อนไหวต้องเป็นไปอย่างอิสระราบเรียบ นุ่มนวล แลดูแข็งแรง เวลาเดินขาหน้าต้องเหยียดตรงไม่งอพับขึ้น ข้อศอกไม่กางออก ส่วนขาหลังต้องไม่ถ่างออก ขาหลังจะเคลื่อนไปข้างหน้าในจังหวะเดียวกันกับขาหน้าที่เคลื่อนที่ไป

ขน : สุนัขปอมฯ มีขน 2 ชั้น คือ ขนชั้นใน (UNDERCOAT) ต้องนุ่มและแน่น ขนชั้นนอก(OUTTERCOAT) ต้องยาวตรงเป็นประกายและหยาบ ขนชั้นในที่หนาแน่นจะช่วยพยุงขนชั้นนอกให้ฟูไม่ลู่ เหยียดตรง ขนจะต้องหนาแน่นตั้งแต่ช่วงคอ หน้าอก ช่วงไหล่ด้านหน้า ขนช่วงหัวและขาจะแน่นแต่สั้นกว่าขนช่วงลำตัว ขนหางยาว หยาบและเหยียดตรง การตัดแต่งเล็มขนให้ดูสวยงามและดูเรียบร้อยไม่ถือเป็นข้อผิด
สี : สีที่ได้รับการยอมรับและรับรอง ควรได้รับการพิจารณาการตัดสินอย่างเท่าเทียมกัน สีที่ได้รับการยอมรับได้แก่
1. สีใดๆ ก็ได้ที่ขึ้นเป็นสีเดียวกันทั้งตัว หรืออาจจะมีสีที่อ่อนหรือแก่กว่าแซมอยู่ด้วย (SELT-COLOR)
2. สีแซมกัน 2 สี (PARTI-COLOR) หมายถึงปอมฯ ที่มีสีขาวและมีสีอื่นแซมเป็นพื้นๆ กระจายเท่าๆ กันทั่วตัว และควรมีแถบสีขาวบนหัวด้วย
3. สีดำและน้ำตาล (BLACK AND TAN) หมายถึงปอมฯ มีสีดำที่มีสีน้ำตาลอยู่เหนือตาทั้ง 2 ข้างและปาก ลำคอ หน้าอก ใต้หาง ขาและเท้าทั้ง 4 ข้าง สีน้ำตาลนี้ยิ่งเข้มยิ่งดี
4. BRINDLE ได้แก่ปอมฯ ที่มีพื้น คือ สีทอง แดงหรือส้ม และมีสีดำแซมอยู่ทั่วทั้งตัว
ไซบีเรียน ฮัสกี้
ไซบีเรียน ฮัสกี้ เป็นสุนัขที่ชนเผ่าชัคชิ (Chuckchi) ในไซบีเรียได้เพาะขึ้นมายาวนานกว่า 3,000 ปีมาแล้ว เพื่อใช้ในการลากเลื่อนบรรทุกสิ่งของหรือเป็นพาหนะในพื้นที่ที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งและหิมะ ประกอบกับที่ชนกลุ่มนี้ได้ทุ่มเทเวลาเกือบทั้งหมดกับการเพาะพันธุ์สุนัข ไซบีเรียน ฮัสกี้จึงได้กลายมาเป็นสุนัขลากเลื่อนพันธุ์แท้ที่มีประสิทธิภาพในการลากเลื่อนสูงสุดในบรรดาสุนัขลากเลื่อนทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากสุนัขมีน้ำหนักเบา คล่องตัว ว่องไว แข็งแรง อดทนต่อความหนาวเย็นและความอดอยากในฤดูหนาวได้ดี รวมทั้งมีความอดทนต่อความเหนื่อยล้าเป็นที่หนึ่ง จึงทำให้สามารถลากเลื่อนด้วยความเร็วเป็นเวลาติดต่อกันนานๆ ไซบีเรียน ฮัสกี้ เป็นที่รู้จักแพร่หลายในอเมริกา ในปี 1908 เมื่อพ่อค้าขนสัตว์ชาวรัสเซีย ชื่อ วิลเลี่ยม กูแซค (William Goosak) ได้นำสุนัขฝูงหนึ่งมาจากไซบีเรียเข้ามาในเมืองโนม ในอลาสก้า และได้นำสุนัขลงแข่งลากเลื่อน จนได้กลายมาเป็นสุนัขลากเลื่อนที่แพร่หลายที่สุดและได้รับชัยชนะบ่อยครั้งที่สุดในวงการลากเลื่อน

แหล่งที่มา http://rsu.netdesignhost.com/web/insidersu/sarnrangsit/jan2005/LIfeStyle.html

แหล่งที่มา http://rsu.netdesignhost.com/web/insidersu/sarnrangsit/jan2005/LIfeStyle.html
เชา เชา
ลักษณะทั่วไป : เชา เชาเป็นสุนัขที่เต็มไปด้วยพละกำลัง ลำตัวสั้นกระทัดรัด มีความแคล่วคล่องว่องไวและตื่นตัวอยู่เสมอ มีมัดกล้ามเนื้อที่แข็งแรงและมีโครงสร้างที่สมดุลมาก ลำตัวเป็นสี่เหลี่ยม ศีรษะกว้างและแบน สันจมูกกว้างและสั้น มีขนขึ้นหนาแน่นโดยเฉพาะที่รอบคอ ขาใหญ่ตั้งตรงและแข็งแรง ขนมีความมันเป็นประกาย ลักษณะเด่นของเชา เชาคือ มีความเป็นเอกลักษณ์ มีความสง่างามและมีความเป็นธรรมชาติ เปรียบเสมือนกับเป็นราชสีห์ หน้าตาดุดันแข็งขัน สงบและว่างท่าอย่างสุขุมเป็นผู้ดี มีความเป็นอิสระและมีการตัดสินใจที่ดี
โกลเด้น รีทรีฟเวอร์
เป็นสุนัขที่มีนิสัยค่อนข้างจะเป็นมิตรกับทุกๆ คน ดังนั้นจึงสามารถพาไปไหนมาไหนโดยไม่สร้างปัญหา มีความเฉลียวฉลาด ว่านอนสอนง่าย เป็นสุนัขที่มีความปราดเปรียวและอดทน ลีลาในการย่างก้าวหรือไหวเป็นไปด้วยความนิ่มนวล
วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
บีเกิ้ล

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
8 วิธีอ่านหนังสือสอบได้อย่างเซียน

เมื่อลองย้อนเวลากลับไปในสมัยที่เรียนอยู่ ช่วงเวลาที่น่าเบื่อที่สุดคือ ช่วงเวลาแห่งการท่องตำราสอบ ไม่ว่าจะเรียนอยู่ในระดับไหนก็หลีกเลี่ยงการท่องตำราสอบกันไม่ได้ทั้งนั้น เคยเป็นไหมที่รู้สึกว่า อยากให้มีเวลาเยอะกว่านี้
เพื่อจะได้อ่านหนังสือสอบให้ทัน วันนี้เราจึงรวบรวมเทคนิคการอ่านให้ได้ประสิทธิภาพ ที่คิดว่าพอจะแก้ปัญหาเกี่ยวกับการอ่านมานำเสนอ ดังนี้
1. หัดให้ตัวเองมีวินัยให้ได้ คือ ถ้าเราวางแผนว่าจะอ่านหนังสือให้ได้เท่านี้สำหรับวันนี้ เราก็ต้องทำให้ได้ วิธีฝึกเริ่มแรกให้กำหนดง่ายๆ ก่อนว่า วันนี้เราจะอ่านตำราแค่ 1 บท หรือ 10 หน้า เป็นต้น เอาแค่นี้ให้ได้ ถ้าอ่านจบเร็วก็ไปทำอย่างอื่น พอวันต่อๆ ไปก็ค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้นตามสมควร แล้วก็ต้องอ่านให้ได้ตามเป้าหมาย เมื่อเราอ่านได้ตามเป้าแล้วในแต่ละครั้งก็อย่าลืมให้รางวัลตัวเองด้วยทุกครั้ง โดยรางวัลก็อาจจะเป็นอะไรง่ายๆ เช่น ได้ดูละครหนึ่งเรื่องตอนกลางคืน เป็นต้น
2. วางแผนการอ่านหนังสือ เมื่อเรามีวินัยและเคารพการวางแผนของตัวเองแล้ว ต่อไปก็ต้อง วางแผนการอ่านหนังสือ การวางแผนที่ดีนั้นสำคัญมาก เพราะทำให้เราเดินไปถูกทิศทาง การวางแผนไม่ถือเป็นการเสียเวลา แต่เป็นการประหยัดเวลาในระยะยาว เพราะไม่ต้องไปเสียเวลาเดินผิดทาง
3. อย่าตะบี้ตะบันอ่านเกินควร อย่าคิดว่าตัวเองเป็น superman คือ สามารถอ่านหนังสือได้เยอะเกินกำลังภายในเวลาอันสั้น อย่าวางตารางการอ่านให้แน่นเกินไป เพราะนอกจากจะทำไม่ได้ตามแผนอยู่แล้ว ยังทำให้ตัวเองเครียดเพราะแผนนั้นโดยไม่จำเป็นด้วย แรกๆ อาจจะกะความสามารถตัวเองยากหน่อย หรือการอ่านตำราภาษาอังกฤษกับภาษาไทยก็ใช้ระยะเวลาการอ่านไม่เท่ากัน ก็ใช้เก็บสถิติจากการอ่านในรอบแรกๆ เช่น การอ่านภาษาอังกฤษ 1 หน้า เราใช้เวลา 10 นาที เราก็จะประมาณถูกว่าต้องใช้เวลาเท่าไรจึงจะอ่านจบบทหรือจบวิชา เป็นต้น
4. หาที่อ่านที่สงบเงียบและนั่งสบาย ส่วนบรรยากาศก็แล้วแต่คนชอบ บางคนชอบอ่านที่บ้าน ในห้องสมุด ในสวนมีต้นไม้เขียวๆ หรือในร้านกาแฟ หรือบางทีเราก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่ควรไม่อยู่ใกล้ทีวี หรือสิ่งต่างๆ ที่ทำให้เราเสียสมาธิ เพราะทำให้เราเสียเวลาในการอ่าน และทำให้จำได้ไม่ดีด้วย แต่ก็ทราบมาว่าบางคนจะชอบให้มีเสียงเพลงหรือเสียงอื่นๆ เวลาอ่านหนังสือด้วย อันนี้ก็แล้วแต่ความชอบ
5. อย่าให้สิ่งใดมารบกวนการอ่าน เวลาอ่านหนังสือ เราควรกำหนดว่า เวลานี้เราจะตั้งใจ และไม่ปล่อยให้อะไรมาขัดโดยไม่จำเป็น เช่น อาจจะปิดเสียงโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น คนอื่นก็จะไม่มารบกวนโดยไม่จำเป็น การได้ทำงานหรืออ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาติดต่อกันอย่างนี้มีประสิทธิภาพกว่าการอ่านที่ถูกหยุดด้วยสิ่งต่างๆ
6. พักผ่อนสมองบ้าง เมื่ออ่านหนังสือไปนานๆ เราก็จะเริ่มล้า ทั้งสมองที่ต้องคิด ทั้งร่างกายที่ไม่ได้ขยับ ทั้งสายตาที่ต้องจ้องอยู่นาน เราก็ควรกำหนดเวลาพัก อันนี้ก็แล้วแต่คนชอบ อาจจะพักอ่านหนังสือทุกๆ ชั่วโมงหรือ 2 ชั่วโมง โดยออกไปเดินยืดเส้นยืดสาย ดื่มน้ำ ทานขนม หรือไปมองต้นไม้เขียวๆ เวลาพักก็ต้องกำหนดด้วยว่า 5 นาที หรือ 15 นาที เป็นต้น
7. ชอบขีดเส้นหรือเน้นข้อความที่สำคัญในหนังสือโดยไม่หวงหนังสือ ว่าจะดูเลอะเทอะเลย เพราะชอบเวลากลับมาอ่านทวน เราก็จะรู้ว่าจุดไหนเป็นข้อมูลสำคัญ เรายังสามารถใช้ทบทวนก่อนสอบได้ด้วย สำหรับคนที่ชอบหนังสือใหม่ๆ เกลี้ยงๆ ก็อาจจะต้องหาสมุดกับปากกามาจดสิ่งที่สำคัญจากหนังสือนั้นๆ เพื่อการอ่านทบทวนได้
8. พยายามจัดเวลาอ่านหนังสือในช่วงเวลาที่เราตื่นตัวที่สุด อันนี้แตกต่างกันไป บางคนจะจำได้ดีถ้าอ่านตอนเช้า บางคนเป็นตอนเย็น ก็ต้องสังเกตตัวเองดู ถ้าทราบแล้วอาจจะกำหนดเป็นเวลาประจำทุกวัน เช่น ทุกวันเวลา 2 ทุ่ม - 5 ทุ่ม เราต้องอ่านตำราทบทวนที่เรียนมา เป็นต้น
อย่าลืมทบทวนตำราเรียนทุกวันนะคะ แล้วเอาเทคนิคทั้ง 8 ไปใช้ดู เผื่อประสิทธิภาพในการอ่านจะทำให้เกรดภาคเรียนต่อไปดีขึ้นทันตาก็ได้
เพื่อจะได้อ่านหนังสือสอบให้ทัน วันนี้เราจึงรวบรวมเทคนิคการอ่านให้ได้ประสิทธิภาพ ที่คิดว่าพอจะแก้ปัญหาเกี่ยวกับการอ่านมานำเสนอ ดังนี้
1. หัดให้ตัวเองมีวินัยให้ได้ คือ ถ้าเราวางแผนว่าจะอ่านหนังสือให้ได้เท่านี้สำหรับวันนี้ เราก็ต้องทำให้ได้ วิธีฝึกเริ่มแรกให้กำหนดง่ายๆ ก่อนว่า วันนี้เราจะอ่านตำราแค่ 1 บท หรือ 10 หน้า เป็นต้น เอาแค่นี้ให้ได้ ถ้าอ่านจบเร็วก็ไปทำอย่างอื่น พอวันต่อๆ ไปก็ค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้นตามสมควร แล้วก็ต้องอ่านให้ได้ตามเป้าหมาย เมื่อเราอ่านได้ตามเป้าแล้วในแต่ละครั้งก็อย่าลืมให้รางวัลตัวเองด้วยทุกครั้ง โดยรางวัลก็อาจจะเป็นอะไรง่ายๆ เช่น ได้ดูละครหนึ่งเรื่องตอนกลางคืน เป็นต้น
2. วางแผนการอ่านหนังสือ เมื่อเรามีวินัยและเคารพการวางแผนของตัวเองแล้ว ต่อไปก็ต้อง วางแผนการอ่านหนังสือ การวางแผนที่ดีนั้นสำคัญมาก เพราะทำให้เราเดินไปถูกทิศทาง การวางแผนไม่ถือเป็นการเสียเวลา แต่เป็นการประหยัดเวลาในระยะยาว เพราะไม่ต้องไปเสียเวลาเดินผิดทาง
3. อย่าตะบี้ตะบันอ่านเกินควร อย่าคิดว่าตัวเองเป็น superman คือ สามารถอ่านหนังสือได้เยอะเกินกำลังภายในเวลาอันสั้น อย่าวางตารางการอ่านให้แน่นเกินไป เพราะนอกจากจะทำไม่ได้ตามแผนอยู่แล้ว ยังทำให้ตัวเองเครียดเพราะแผนนั้นโดยไม่จำเป็นด้วย แรกๆ อาจจะกะความสามารถตัวเองยากหน่อย หรือการอ่านตำราภาษาอังกฤษกับภาษาไทยก็ใช้ระยะเวลาการอ่านไม่เท่ากัน ก็ใช้เก็บสถิติจากการอ่านในรอบแรกๆ เช่น การอ่านภาษาอังกฤษ 1 หน้า เราใช้เวลา 10 นาที เราก็จะประมาณถูกว่าต้องใช้เวลาเท่าไรจึงจะอ่านจบบทหรือจบวิชา เป็นต้น
4. หาที่อ่านที่สงบเงียบและนั่งสบาย ส่วนบรรยากาศก็แล้วแต่คนชอบ บางคนชอบอ่านที่บ้าน ในห้องสมุด ในสวนมีต้นไม้เขียวๆ หรือในร้านกาแฟ หรือบางทีเราก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่ควรไม่อยู่ใกล้ทีวี หรือสิ่งต่างๆ ที่ทำให้เราเสียสมาธิ เพราะทำให้เราเสียเวลาในการอ่าน และทำให้จำได้ไม่ดีด้วย แต่ก็ทราบมาว่าบางคนจะชอบให้มีเสียงเพลงหรือเสียงอื่นๆ เวลาอ่านหนังสือด้วย อันนี้ก็แล้วแต่ความชอบ
5. อย่าให้สิ่งใดมารบกวนการอ่าน เวลาอ่านหนังสือ เราควรกำหนดว่า เวลานี้เราจะตั้งใจ และไม่ปล่อยให้อะไรมาขัดโดยไม่จำเป็น เช่น อาจจะปิดเสียงโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น คนอื่นก็จะไม่มารบกวนโดยไม่จำเป็น การได้ทำงานหรืออ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาติดต่อกันอย่างนี้มีประสิทธิภาพกว่าการอ่านที่ถูกหยุดด้วยสิ่งต่างๆ
6. พักผ่อนสมองบ้าง เมื่ออ่านหนังสือไปนานๆ เราก็จะเริ่มล้า ทั้งสมองที่ต้องคิด ทั้งร่างกายที่ไม่ได้ขยับ ทั้งสายตาที่ต้องจ้องอยู่นาน เราก็ควรกำหนดเวลาพัก อันนี้ก็แล้วแต่คนชอบ อาจจะพักอ่านหนังสือทุกๆ ชั่วโมงหรือ 2 ชั่วโมง โดยออกไปเดินยืดเส้นยืดสาย ดื่มน้ำ ทานขนม หรือไปมองต้นไม้เขียวๆ เวลาพักก็ต้องกำหนดด้วยว่า 5 นาที หรือ 15 นาที เป็นต้น
7. ชอบขีดเส้นหรือเน้นข้อความที่สำคัญในหนังสือโดยไม่หวงหนังสือ ว่าจะดูเลอะเทอะเลย เพราะชอบเวลากลับมาอ่านทวน เราก็จะรู้ว่าจุดไหนเป็นข้อมูลสำคัญ เรายังสามารถใช้ทบทวนก่อนสอบได้ด้วย สำหรับคนที่ชอบหนังสือใหม่ๆ เกลี้ยงๆ ก็อาจจะต้องหาสมุดกับปากกามาจดสิ่งที่สำคัญจากหนังสือนั้นๆ เพื่อการอ่านทบทวนได้
8. พยายามจัดเวลาอ่านหนังสือในช่วงเวลาที่เราตื่นตัวที่สุด อันนี้แตกต่างกันไป บางคนจะจำได้ดีถ้าอ่านตอนเช้า บางคนเป็นตอนเย็น ก็ต้องสังเกตตัวเองดู ถ้าทราบแล้วอาจจะกำหนดเป็นเวลาประจำทุกวัน เช่น ทุกวันเวลา 2 ทุ่ม - 5 ทุ่ม เราต้องอ่านตำราทบทวนที่เรียนมา เป็นต้น
อย่าลืมทบทวนตำราเรียนทุกวันนะคะ แล้วเอาเทคนิคทั้ง 8 ไปใช้ดู เผื่อประสิทธิภาพในการอ่านจะทำให้เกรดภาคเรียนต่อไปดีขึ้นทันตาก็ได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)