วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

ข้อแนะนำในการฝึกสุนัข

ทำตามกำหนดการ ให้กำหนดเวลาในการฝึกสุนัข และทำตามเวลาที่กำหนดแน่นอนวันละ 2 ครั้ง เวลาในการฝึกควรให้สั้น เริ่มจากการฝึกครั้งละ 5 -10นาที แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาการฝึกให้นานขึ้น อย่าฝึกนานจนลูกสุนัขของคุณเกิดความเบื่อหน่าย หรือดูมีอาการกระสับกระส่ายและไม่มีสมาธิ เวลาที่เหมาะที่สุดคือเวลาก่อนอาหารลูกสุนัขที่หิวเล็กน้อยจะตื่นตัวและมีชีวิตชีวามากกว่า ลูกสุนัขที่เพิ่งกินอาหารหรือก่อนเข้านอน


ต้องสม่ำเสมอ เวลาออกคำสั่งเดียวกัน ให้ใช้คำและน้ำเสียเดียวกันทุกครั้ง หากคุณพูดว่า "มานี่เบลเซอร์" ด้วยน้ำเสียงที่สดใสและเข้าใจในระหว่างการฝึก ในการฝึกครั้งต่อไป อย่างเปลี่ยนเป็น "มานี่เบลเซอร์" ด้วยน้ำเสียงที่แสดงอำนาจในการฝึกครั้งต่อไป เบลเซอร์จะเกิดความสับสนและอาจจะไม่ตอบสนองในสิ่งที่คุณต้องการ


ต้องมั่นคง ให้ลูกสุนัขรู้ว่าเราไม่ได้ทำแบบเล่นๆ ให้ทำแบบเอาจริงเอาจังเพื่อให้เขารู้ว่าเขาก็ต้องทำแบบเอาจริงจังเช่นเดียวกัน อย่าให้อาการ ขี้เล่นหรือนัยน์ตาสีน้ำตาลที่เศร้าสร้อยทำให้คุณใจอ่อน


ต้องอดทน หากลูกสุนัขของคุณไม่เป็นนักเรียนที่ปราดเปรื่องในตอนต้นก็อย่าให้ เป็นเหตุทำให้คุณและสุนัขผิดหวัง ลูกสุนัขจะรู้ว่าคุณโกรธหรือขาดความอดทน ซึ่งจะทำให้เขากังวล เขาจะรู้สึกกระวนกระวายเกี่ยวกับการฝึก และสิ่งนั้นจะทำให้คุณและสุนัขยุ่งยากมากขึ้น ถ้ารู้สึกหงุดหงิดควรจะเลื่อนการฝึกออกไป


ต้องตอบสนองทันที ให้ใช้คำยกย่องหรือทำการแก้ไขโดยทันทีที่ลูกสุนัขของคุณตอบสนองต่อคำสั่ง หากเขามาตามคำสั่ง ให้ชมเขาอย่าเต็มที่ในทันทีที่เขาไปหาคุณ หรือแม้แต่เข้าไปหาโดยห่างจากจุดหมายถึงสองฟุต และต้องกระตุกสายจูงเล็กน้อยเพื่อให้เขาทำตาม การแก้ไขให้ใช้คำสั้นและห้วนว่า "อย่า" อย่าตีลูกสุนัขที่ผ่านการฝึกมาดี ควรที่จะตอบสนอง เพราะเขาอยากจะทำให้เจ้านายของเขาพอใจ ไม่ใช่เป็นเพราะเขากลัวนายของเขา


ให้คงไว้ซึ่งอัธยาศัยที่ดี ให้การสิ้นสุดการฝึกแบบมีความสุขเสมอ เพื่อที่ทั้งคุณและลูกสุนัขของคุณจะรู้สึกพอใจในตัวคุณและพอใจซึ่งกันและกัน การที่จะฝึกให้ประสบความสำเร็จ ลูกสุนัขของคุณต้องมีท่าทีในทางบวกเกี่ยวกับการฝึก และท่ามีของเขาย่อมขึ้นอยู่กับคุณโดยสิ้นเชิง

การฝึกสุนัขเบื้องต้น

เจ้าของสุนัขทุกคนมีหน้าที่ในการฝึกหัดสุนัขของเขาให้ประพฤติเป็นสมาชิกของสังคมที่มีวินัย สุนัขที่ไม่เชื่อฟัง และบังคับไม่ได้จะเป็นตัวก่อความรำคาญและเป็นอันตรายต่อคุณเอง ครอบครัวของคุณและคนอื่น เพื่อนที่มีขนปุกปุยของคุณจะเป็นเพื่อนที่สนุกสนาน ถ้าคุณสละเวลาเขาเพื่อฝึกหัดเขาให้ถูกต้อง ครูฝึกสุนัขอาชีพส่วนใหญ่จะแนะนำว่าสุนัขที่มีอายุ 5 ถึง 6 เดือน เป็นอายุที่เหมาะสมที่สุดที่จะเริ่มนำไปฝึกอย่างจริงจัง ขอแนะนำให้เข้าฝึกเชื่อฟังคำสั่งสำหรับลูกสุนัข ซึ่งจะได้ฟังข้อคิดเห็นและความซาบซึ้งในการฝึก อย่างไรก็ตามคุณสามารถเริ่มฝึกหัดลูกสุนัขเล็กน้อยตั้งแต่วันแรกที่ได้ลูกสุนัขมา
สอนลูกสุนัขของคุณให้รู้จักชื่อของเขา

ขั้นแรกสอนให้ลูกสุนัขจำชื่อของเขาโดยเรียกบ่อยๆ ขานชื่อเขาด้วยน้ำเสียงที่สดใสและมีชีวิตจิตใจ ซึ่งจะดึงดูดความสนใจเขา ให้ทำอย่างนี้ในขณะที่เล่นกับเขา และก้มลงจะเล่น หรือขณะที่คุณกำลังจะวางชามอาหารของเขาลง ในไม่ช้าเขาจะเข้าใจเวลาคุณหรือใครก็ตามที่เรียกชื่อเขา ย่อมหมายถึงเขา เริ่มทำการสื่อสารโดยไม่อาศัยคำพูดตั้งแต่แรก โดยอาศัยส่งทางสายตากับลูกสุนัขของคุณ เรียกชื่อของเขา เมื่อเขาหันหลังสบตากล่าวคำชมเชยเขาอย่าสุดจิตสุดใจเพื่อดึงดูดความสนใจของเขา โดยให้เขามองที่ตาของคุณ (ใช้มือทั้งสองป้องตาจะช่วยได้) ให้ทำอย่างนั้นนานเท่าที่คุณจะทำได้ และกล่าวชมเขาตราบเท่าที่เขาจ้องมองที่ตาคุณ ในไม่ช้าลูกสุนัขจะเริ่มจ้องมาที่ตาคุณ และเขาจะหัดตีความหมายการมองของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการมองแบบยิ้มๆ เพื่อให้รู้ว่าเห็นด้วย หรือการจ้องที่ขึงขังซึ่งหมายความว่าไม่เห็นด้วย
ปลอกคอและสายจูง

ฝึกให้ลูกสุนัขของคุณเคยชินกับปลอกคอและสายจูง เริ่มจากใช้ปลอกคอที่แคบและอ่อนนุ่มก่อน และให้เขาใส่เป็นประจำจนกว่าจะเกิดความเคยชิน แล้วค่อยเอาโซ่ที่เบาติดเข้ากับปอกคอ ให้ยาวจนลากดินแล้วปล่อยให้เขาลากไปมาเป็นเวลาหลายวัน วิธีการต่อไปก็คือให้จับปลายข้างโซ่ขึ้นมาโดยไม่ให้มันตึง ดึงให้ตรงแล้วเดินล่อลูกสุนัขของคุณด้วยคำหวานเพื่อให้เดินตามคุณ ถ้าเขาเดินไม่ทันหรือวิ่งนำหน้าคุณ ให้กระตุกสั้นๆ และเบาๆ ควรจะเดินไปพร้อมๆกัน เพื่อทำให้ลูกสุนัขไม่รู้สึกว่าเป็นการนำมี่ล้ำหน้าเกินไป และไม่เริ่มคิดว่าเป็นการบังคับที่ไม่สบายเลย ในช่วงนี้คงเพียงพอ แต่คุณสามารถฝึกสุนัขได้จริงจังกว่านี้ เมื่อเขามีอายุมากขึ้น และประสบการณ์ในระยะแรกในสายจูงจะเป็นพื้นฐานที่ดี

การเลี้ยงน้องชิวาวา

ปัจจัยสำคัญของการเลี้ยงน้องชิ
1. สถานที่
ผู้ที่คิดจะเลี้ยงสุนัขควรจะมีสถานที่หรือบริเวณพอที่สุนัขสามารถจะวิ่งเล่นออกกำลังกายได้บ้าง และจัดเป็นสัดส่วนเพื่อปกป้องข้าวของของผู้เลี้ยงเสียหาย เช่น การกัดแทะ การเยี่ยวรดสิ่งของ การอุจจาระไม่เป็นที่เป็นทาง และการลักขโมยของกิน -..-

2. ความพร้อมของเจ้าของ
เมื่อคิดจะเลี้ยงสุนัขแล้ว เจ้าของทุกๆ ท่านจะต้องมีเวลาให้กับน้องชิด้วย ซึ่งจะเกี่ยวพันถึงความพร้อมของสถานที่ด้วย ถ้าหากไม่มีพื้นที่ถ้าจะให้น้องชิของเราได้วิ่งเล่น แต่เรากลับจับน้องชิไปขังไว้ในกรง ทำให้น้องชิกดดัน แล้วจะได้ยินเสียงเห่าหนวกหูทำให้ละแวกบ้านได้รับความเดือนร้อนไปด้วย และยังส่งผลถึงน้องชิทำให้เราไม่สามารถเห็นความน่ารักของน้องชิตามธรรมชาติได้ ทำให้อุปนิสัยผิดไปจากเดิม แต่ถ้าหากมีความต้องการอยากจะเลี้ยงจริงๆ ก็ต้องมีการจัดแจงเวลาให้เหมาะสม เช่นการพาน้องชิออกไปวิ่งเล่นตามสวนสาธารณะต่างๆ

3. ความรัก
ผู้ที่คิดจะเลี้ยงน้องชิ จะต้องมีความรัก ความจริงใจและเสมอต้นเสมอปลายให้กับน้องชิด้วย บางคนได้ลูกสุนัขมาเลี้ยงเพราะความน่ารัก ในขณะที่ยังเป็นลูกสุนัขจึงนำมาเลี้ยง แต่พอสุนัขเริ่มโตขึ้น ความน่ารักที่ได้มาเหล่านั้นหายไป นิสัยใจคอเปลี่ยนไป รูปร่างโตขึ้นผิดไปจากตอนแรก อาจจะทำให้ความรักที่มีต่อลูกสุนัขตัวเล็กๆ จืดจางลงไป เริ่มไม่สนใจ ปล่อยปะล่ะเลย ดังนั้นผู้ที่คิดจะเลี้ยงน้องชิและสุนัขพันธุ์อื่นๆ จึงควรให้ความรัก ความเอ็นดูความจริงใจกับสุนัขอย่างเสมอต้นเสมอปลายด้วย

4. ความเอาใจใส่
การเลี้ยงน้องชิจะทำให้ต้องมีภาระเพิ่มขึ้น เช่น ต้องเช็ครอยเท้าที่สกปรกตามพื้นบ้าน ต้องแปรงขน อาบน้ำให้ คอยกำจัดเห็บที่รบกวน หรือต้องคอยสนใจสังเกตว่า น้องชินั้นมีสุขภาพอย่างไร ในเรื่องการขับถ่าย ท้องเสียหรือไม่ กริยาท่าทางร่าเริงหรือหงอยๆ ซึมๆ ไม่สบาย การเดิมไม่ถนัด เป็นแผล หรือขาเคล็ดขาหัก สิ่งที่เราสามารถสังเกตว่าน้องชิไม่สบายแบบง่ายๆ คือจมูก ถ้าหากน้องชิมีจมูกแห้งไม่เป็นมัน และถ้าน้องชิของเรานั้นไปกินหญ้า หรือใบตะไคร้ แสดงว่าน้องชิของเรานั้นมีอาการไม่สบาย ต้องช่วยเหลือห้ามปล่อยไว้เด็ดขาด

ปักกิ่ง

ศีรษะ : มีขนาดใหญ่ แข็งแรง กว้างและแบน ในช่วงระหว่างหูทั้งสองข้างจะต้องไม่มีโค้งนูนเป็นโดม มีระยะระหว่างตาทั้งสองข้างกว้า
จมูก : จมูกสีดำ กว้าง สั้นและแบน
ตา : ตาโต สีเข้ม กลมนูนเด่นประกาย ศีรษะ : มีขนาดใหญ่ แข็งแรง กว้างและแบน ในช่วงระหว่างหูทั้งสองข้างจะต้องไม่มีโค้งนูนเป็นโดม มีระยะระหว่างตาทั้งสองข้างกว้า
จมูก : จมูกสีดำ กว้าง สั้นและแบน
ตา : ตาโต สีเข้ม กลมนูนเด่นประกาย
สต๊อป : หรือรอยต่อระหว่างสันจมูกกับหน้าผากจะต้องลึกมาก
หู : มีลักษณะเป็นรูปหัวใจ ไม่อยู่สูงเกินไป ยาวพอสมควร ปลายหูอยู่ระดับต่ำกว่าช่วงปากเล็กน้อย ห้อยตกลงแนบแก้ม ปกคลุมด้วยขนที่ยาวมาก
ช่วงปาก : สั้นมาก กว้าง มีรอยย่น ไม่ยื่นแหลม แข็งแรง ขากรรไกรล่างกว้าง ฟันไม่ยื่นให้เห็นนอกริมฝีปาก
รูปร่างของลำตัว : ลำตัวช่วงหน้าใหญ่หนักแข็งแรง หน้าอกกว้าง ซี่โครงโค้งกว้างค่อยๆ เรียวลงทางด้านหลัง รูปร่างเหมือนสิงโต หลังเรียบขนานกับพื้น ลำตัวสั้นยกเว้นตัวเมียที่อาจยาวกว่าตัวผู้ได้เล็กน้อย
ขา : ขาสั้น ขาหน้ามีกระดูกช่วงบนโค้ง ไหล่แข็งแรง ขาหลังมีกระดูกที่เล็กบางกว่าเล็กน้อย แต่แข็งแรงและได้สัดส่วน
เท้า : เท้าแบน ปลายเท้าเฉียงออก ไม่มีลักษณะกลม จะต้องยืนได้มั่นคงบนเท้าไม่ใช่ยืนบนข้อเท้า
ลักษณะท่าทาง : ไม่กลัวใคร เป็นอิสระ แข็งแรง ลักษณะการเดินจะมีการโยกตัวซ้ายขวาอย่างนุ่มนวล(ROLL)
ขน : ขนยาว มีขนชั้นในที่หนาแน่น ขนมีลักษณะเป็นเส้นตรง เรียบไม่หยิกเป็นคลื่น ค่อนข้างหยาบแต่นุ่ม ขนบริเวณสะโพก ขา หางและหูจะต้องยาวและฟูมาก
ขนแผงคอ : ยาวและฟูมาก กว้างเกินหัวไหล่ ปกคลุมตลอดรอบลำคอ
สี : มีได้ทุกสีคือ แดง ฟอน (สีโทนน้ำตาล) ดำ ดำกับแทน (BLACK AND TAN) เซเบิล (ขนสีดำที่ปกคลุมสีของลำตัวที่อ่อนกว่า) บรินเดิ้ล (ขนสีเข้มและสีอ่อนขึ้นแซมกันทั่วตัว) ขาวและขน 2 สี (PATICOLOR) คือ จะต้องมีสี 2 สีที่แยกจากกันอย่างชัดเจนกระจายอยู่ทั่วตัว ไม่มีสีใดสีหนึ่ง เป็นบริเวณกว้างอยู่สีเดียว จะต้องมีสีขาวปรากฎบริเวณหลัง สำหรับสุนัขที่มีสีเดียว แต่มีเท้ากับหน้าอกยาว ไม่นับเป็นประเภทขนสองสี
หาง : ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สูง วางพาดไปบนหลัง ปลายหางตกลงด้านใดด้านหนึ่ง มีขนยาวตรงแน่นและฟูมาก
ขนาด : เนื่องจากปักกิ่งเป็นสุนัขตุ๊กตา (TOY) จึงนิยมให้มีขนาดเล็ก โดยจะต้องมีลักษณะที่ถูกต้อง น้ำหนักจะต้องไม่เกิน 14 ปอนด์
การแสดงออก : จะต้องแสดงออกถึงต้นกำเนิดเดิมในประเทศจีน คือ มีความกล้าหาญ เป็นตัวของตัวเอง เหมือนสิงโตที่มีขนาดเล็ก มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่กลัวใคร พร้อมที่จะต่อสู้ป้องกันตัวแต่ไม่ดุร้าย ไม่ควรมีลักษณะอ่อนหวานหรือบอบบาง
ข้อบกพร่อง : ที่จะถูกหักคะแนน ในการประกวด ลิ้นยื่นให้เห็นนอกปาก ตาเจ็บอักเสบ ขากรรไกรบนยื่นกว่าขากรรไกรล่าง (OVERSHOT) และปากเบี้ยว (WRY MOUTH)
ที่จะถูกตัดสิทธ ิ์ในการประกวด จมูกสีชมพูหรือสีน้ำตาล (DUDLEY NOSE) น้ำหนักเกินกว่า 14 ปอนด์

สต๊อป : หรือรอยต่อระหว่างสันจมูกกับหน้าผากจะต้องลึกมาก
หู : มีลักษณะเป็นรูปหัวใจ ไม่อยู่สูงเกินไป ยาวพอสมควร ปลายหูอยู่ระดับต่ำกว่าช่วงปากเล็กน้อย ห้อยตกลงแนบแก้ม ปกคลุมด้วยขนที่ยาวมาก
ช่วงปาก : สั้นมาก กว้าง มีรอยย่น ไม่ยื่นแหลม แข็งแรง ขากรรไกรล่างกว้าง ฟันไม่ยื่นให้เห็นนอกริมฝีปาก
รูปร่างของลำตัว : ลำตัวช่วงหน้าใหญ่หนักแข็งแรง หน้าอกกว้าง ซี่โครงโค้งกว้างค่อยๆ เรียวลงทางด้านหลัง รูปร่างเหมือนสิงโต หลังเรียบขนานกับพื้น ลำตัวสั้นยกเว้นตัวเมียที่อาจยาวกว่าตัวผู้ได้เล็กน้อย
ขา : ขาสั้น ขาหน้ามีกระดูกช่วงบนโค้ง ไหล่แข็งแรง ขาหลังมีกระดูกที่เล็กบางกว่าเล็กน้อย แต่แข็งแรงและได้สัดส่วน
เท้า : เท้าแบน ปลายเท้าเฉียงออก ไม่มีลักษณะกลม จะต้องยืนได้มั่นคงบนเท้าไม่ใช่ยืนบนข้อเท้า
ลักษณะท่าทาง : ไม่กลัวใคร เป็นอิสระ แข็งแรง ลักษณะการเดินจะมีการโยกตัวซ้ายขวาอย่างนุ่มนวล(ROLL)
ขน : ขนยาว มีขนชั้นในที่หนาแน่น ขนมีลักษณะเป็นเส้นตรง เรียบไม่หยิกเป็นคลื่น ค่อนข้างหยาบแต่นุ่ม ขนบริเวณสะโพก ขา หางและหูจะต้องยาวและฟูมาก
ขนแผงคอ : ยาวและฟูมาก กว้างเกินหัวไหล่ ปกคลุมตลอดรอบลำคอ
สี : มีได้ทุกสีคือ แดง ฟอน (สีโทนน้ำตาล) ดำ ดำกับแทน (BLACK AND TAN) เซเบิล (ขนสีดำที่ปกคลุมสีของลำตัวที่อ่อนกว่า) บรินเดิ้ล (ขนสีเข้มและสีอ่อนขึ้นแซมกันทั่วตัว) ขาวและขน 2 สี (PATICOLOR) คือ จะต้องมีสี 2 สีที่แยกจากกันอย่างชัดเจนกระจายอยู่ทั่วตัว ไม่มีสีใดสีหนึ่ง เป็นบริเวณกว้างอยู่สีเดียว จะต้องมีสีขาวปรากฎบริเวณหลัง สำหรับสุนัขที่มีสีเดียว แต่มีเท้ากับหน้าอกยาว ไม่นับเป็นประเภทขนสองสี
หาง : ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สูง วางพาดไปบนหลัง ปลายหางตกลงด้านใดด้านหนึ่ง มีขนยาวตรงแน่นและฟูมาก
ขนาด : เนื่องจากปักกิ่งเป็นสุนัขตุ๊กตา (TOY) จึงนิยมให้มีขนาดเล็ก โดยจะต้องมีลักษณะที่ถูกต้อง น้ำหนักจะต้องไม่เกิน 14 ปอนด์
การแสดงออก : จะต้องแสดงออกถึงต้นกำเนิดเดิมในประเทศจีน คือ มีความกล้าหาญ เป็นตัวของตัวเอง เหมือนสิงโตที่มีขนาดเล็ก มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่กลัวใคร พร้อมที่จะต่อสู้ป้องกันตัวแต่ไม่ดุร้าย ไม่ควรมีลักษณะอ่อนหวานหรือบอบบาง
ข้อบกพร่อง : ที่จะถูกหักคะแนน ในการประกวด ลิ้นยื่นให้เห็นนอกปาก ตาเจ็บอักเสบ ขากรรไกรบนยื่นกว่าขากรรไกรล่าง (OVERSHOT) และปากเบี้ยว (WRY MOUTH)
ที่จะถูกตัดสิทธ ิ์ในการประกวด จมูกสีชมพูหรือสีน้ำตาล (DUDLEY NOSE) น้ำหนักเกินกว่า 14 ปอนด์